ชื่อ: ศิลปะทวารวดี ศิลปะทักษิณ และศิลปะร่วมแบบเขมร

หมวด: หนังสือใหม่ปี 2565

ผู้แต่ง: นิดดา หงษ์วิวัฒน์ , บก.

สำนักพิมพ์: แสงแดด

เนื้อหา

หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเรื่องพุทธศิลป์และเทวศิลป์ในสมัยศิลปะทวารวดี ศิลปะทักษิณ และศิลปะร่วมแบบเขมร โดยแต่ละยุคสมัยปรากฏพุทธลักษณะและเทวลักษณะของประติมากรรมแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของศิลปะที่ยุคสมัยนั้นๆ ได้รับมา อย่างเช่น การได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดีย หรือการถ่ายทอดอิทธิพลศิลปะให้แก่กันและกัน ทั้งนี้ ศิลปะทวารวดีสามารถแบ่งออกได้ 3 สมัย ทวารวดีตอนต้น องค์ประติมากรรมได้รับอิทธิพลจากอินเดียชัดเจน ทวารวดีตอนกลาง รูปเคารพเริ่มคลี่คลายผสมลักษณะของพื้นเมือง และทวารวดีตอนปลาย ประติมากรรมมีลักษณะเฉพาะของตน
ศิลปะทักษิณ หรือที่ทั่วไปรู้จักกันว่า ศิลปะศรีวิชัย เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลทั้งจากอินเดียและชวา (อินโดนีเซียปัจจุบัน)
ศิลปะร่วมแบบเขมร คือศิลปะที่ได้รับอิทธิพลเขมร แต่มีลักษณะเฉพาะตัวของพื้นเมืองในสุวรรณภูมิอยู่มาก ในอดีตเราจะรู้จักในชื่อศิลปะนี้ว่า ศิลปะลพบุรี